วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ถ่านผลไม้ ดูดกลิ่นอับ ภูมิปัญญาไทย ใส่ใจโลกร้อน













คำอธิบาย
จะเห็นได้ว่า อดีตชาวบ้านเริ่มจากการที่ใช้ถ่านไม้ที่ได้จากการเผาเองในครัวเรือน เพื่อใช้สำหรับเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม แต่ด้วยภูมิปัญญาอันชาญฉลาด ได้นำมาทำเป็นถ่านดูดกลิ่น เนื่องจากสมัยโบราณ เทคโนโลยี การผลิตผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นยังไม่มี ชาวบ้านจึงใช้ภูมิปัญญาที่เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้การลองผิดลองถูกของชาวบ้าน จึงนำถ่านไม้ที่มีอยู่ในครัวเรือน ไม่ต้องซื้อ ซึ่งสามารถนำมาเป็นที่ดูดกลิ่นได้ในที่สุด
จนมาปัจจุบันได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆถึงช่วงหรือฤดูที่มีการปลูกผลไม้ซึ่งเป็นอาชีพหนึ่งของเกษตรกรไทย คือ การทำสวนผลไม้ ซึ่ง เมื่อมีการปลูกผลไม้กันมากขึ้น มีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดมากขึ้น จนตลาดไม่สามารถรองรับได้ ผลไม้จึงเหลือไม่สามารถขายได้ ด้วยนิสัยและวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของคนไทย เป็นคนที่รู้คุณค่า และให้ความสำคัญของผลิตผลที่ปลูกมากับมือ ถ้าจะให้ทิ้งคงทำได้ยาก จึงได้มีการคิด ลองผิดลองถูก ด้วยประสบการณ์ องค์ความรู้ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จึงลองนำผลไม้ไปเผาถ่าน ซึ่งจะถ่านที่ได้นั้นเป็นถ่านผลไม้ ซึ่งแตกต่างจากถ่านไม้ ซึ่งมีลักษณะของถ่านจะมีความหนาแน่นน้อย สามารถดูดซับกลิ่นได้ดีกว่า ถ่านไม้ ชาวบ้านจึงได้มีการต่อยอด ทำเป็นจำนวนมากขึ้น จากบ้านหลังหนึ่ง ก็กลายเป็นชุมชน จากชุมชน ก็สู่ระดับจังหวัด จนปัจจุบันนี้ ภูมิปัญญาการทำถ่านผลไม้ได้แพร่หลายไปทั่วทุกภาค ทุกประเทศ โดยเฉพาะท้องถิ่นที่มีการปลูกผลไม้เป็นจำนวนมาก ซึ่งการทำถ่านผลไม้ถือได้ว่าเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่ช่วยแก้ปัญหา ผลไม้ล้นตลาดมากจนเกินไป ซึ่งสามารถนำมาใช้ในครัวเรือน ลดการใช้พลังงานลดการใช้สารเคมี ช่วยลดปัญหาโลกร้อน และยังสามารถสร้างรายได้เสริมโดยการทำเป็นผลิตภัณฑ์ ถ่านผลไม้ ดูดกลิ่นอับ ให้กับชาวบ้านได้อีกด้วย




ผศ. หัสดินทร์ เชาวนปรีชา (จากภูมิปัญญาไทย คือภูมิปัญญาของชาติ )กล่าวไว้ว่า ภูมิปัญญา สาขาเกษตรกรรม คือ ได้แก่ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ทักษะเทคนิคด้านเทคโนโลยี โดยพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั่งเดิมซึ่งสามารถช่วยให้พึ่งตนเองในสภาวการณ์ต่างๆได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตรด้านการตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับการเกษตรเป็นต้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ่านผลไม้ ดูดกลิ่นอับ นับว่าเป็นภูมิปัญญา ในสาขา เกษตรกรรม ซึ่งการทำถ่านผลไม้ของชาวบ้านชุมชน นาหมอบุญ และชุมชนอื่นๆที่ทำนั้น นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการผสมผสานองค์ความรู้ จากการลองผิดลองถูก โดยเริ่มแรกมาจาก การนำถ่านไม้มาดูดกลิ่นอับ ต่อมาเมื่อมีผลไม้มากเกินความต้องการของตลาด ก็ใช้วิธีการ แก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้โดยรู้จักปรับใช้ภูมิปัญญาเก่าและบวกกับเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน จนกลายมาเป็นถ่านผลไม้ดูดกลิ่นอับไปในที่สุด


แนวคิด
จากแนวคิดอันล้ำค่า ของเกษตรกรไทย จากผลไม้ที่เป็นเหมือนกับขยะไม่มีคุณค่าเนื่องจากความไม่ต้องการของท้องตลาด สุดท้ายเกษตรกรไทย ก็ใช้ภูมิปัญญาที่มีการสั่งสมมาตั้งแต่อดีตได้คิดเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส จนกลายมาเป็นถ่านผลไม้ ดูดกลิ่นอับ ในที่สุด

ปัจจุบันนี้ ได้มีการนำภูมิปัญญาการทำถ่านผลไม้ ดูดกลิ่นอับ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยนี้ นำมาพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยในการ ลดการใช้พลังงานลดภาวะโลกร้อน ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลดการเป็นขยะของผลไม้ วัสดุที่ใช้ในการเผา เช่น ซังข้าวโพด แกลบ และ กรรมวิธีในการผลิตที่ช่วยลดการก่อมลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลก
ร้อนได้อีกด้วย

ด้วยคุณสมบัติโครงสร้างทางโมเลกุลของถ่านผลไม้มีความหนาแน่นน้อยกว่าถ่านไม้มาก ทำให้ความสามารถในการดูดซับกลิ่นอับชื้นต่างๆ ได้ดีกว่าถ่านไม้หลายเท่าตัว จึงได้มีการคิดค้นที่จะทำถ่านผลไม้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดกลิ่นให้มากขึ้


เทคนิคการเผาและวิธีการเผาถ่านจากผลไม้:
1.เรียงไม้หมอนในเตาเผาก่อนแล้วจึงเรียงไม้ฟืนตาม
(บางชุมชนจะใช้ซังข้าวโพดและแกลบเป็นเชื้อเพลิงในการเผา)
2.ตัดไม้ฟืนใส่ด้านหน้าเตาให้เต็ม
3.นำผลไม้ เช่น ทุเรียน สับประรด น้อยหน่า มังคุดและฟักทอง ที่แห้งและร่วง หล่นจากต้นมาเผา
4.เรียงผลไม้ที่ต้องการจะเผาวางจากกลางถังถึงท้ายถัง(เพื่อรูปทรงที่ออกมาจะยังคงรูปเดิม)

ประโยชน์ที่ได้และการใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
- เป็นการนำสิ่งที่ไม่ใช้ประโยชน์แล้วนำมาเพิ่มมูลค่า
- เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในครัวเรือน
- ถ่านผลไม้ดูดกลิ่นอับในตู้เย็น ตู้เสื้อผ้า
- โชว์ในห้องรับแขก
- เป็นของฝากที่ระลึก

ปัจจุบันนี้นอกจากกระทรวงพลังงานจะเข้ามาช่วยส่งเสริมภูมิปัญญานี้แล้ว กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักเทคโนโลยีชุมชน ยังเข้ามาช่วยซึ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาวิจัยการผลิตถ่านผลไม้ โดยนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าไปแก้ไขปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อพัฒนาคุณภาพ
ปัจจุบันก็มีหลายๆชุมชน ได้มีการรวมกลุ่มกัน โดยเฉพาะชาวเกษตรกรสวนผลไม้ ก็ได้นำผลไม้ที่เหลือ ไม่ต้องการของท้องตลาด ก็หันมาทำเป็นถ่านผลไม้ กันมากขึ้น กระจายไปทั่วทุกภาค ทุกประเทศ
ชาวบ้าน ต.นาหมอบุญ อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช

ถ่านมังคุดดับกลิ่นเพิ่มมูลค่า
คุณลุงเฉลิม โพธิ์สุข เกษตรกรชาวตำบลเขาบายศรี จังหวัดจันทบุรี ทำสวนเงาะ สวนทุเรียน และมังคุดเป็นอาชีพหลัก

ถ่าน"พลังเด็ก" เกษตรรุ่นเยาว์ เด็กๆยุวเกษตรกรชุมนุมอนุรักษ์พลังงานจากนครสวรรค์ โรงเรียนบ้านหนองไผ่ อ.หนอง บัว จ.นครสวรรค์

ยุวเกษตรกรประจำตำบลหนองกะท้าว ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเริ่มก่อตั้งและดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541
ยุวเกษตรกรประจำตำบลหนองกะท้าว ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเริ่มก่อตั้งและดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541


http://www.youtube.com/watch?v=myio_kxRRfg









เตาเผาถ่าน ภูมิปัญญาที่ช่วยในการผลิตถ่านผลไม้
เตาเผาถ่านโดยใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร นำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นถ่านได้ผลผลิตที่มากกว่าปกติ ผลิตถ่านดูดกลิ่น น้ำส้มควันไม้ โดยเตาเผาถ่าน 200 ลิตร ของคุณสมชายนั้นจะมีความแตกต่างจากที่อื่นคือ จะเป็นแบบวางนอนแล้วนำดินมาโบกปิดไว้ จะนิยมใช้ดินที่มีความเหนียว และจะใช้ตะแกรงเหล็กหรือลวดนำมาวางแล้วจึงนำดินมาโบกรอบเตาเพื่อให้เป็นโครง สร้างที่แข็งแรง หากถัง 200 ลิตร พังก็แค่นำใบใหม่มาเปลี่ยนใส่แทน

สำหรับ วิธีการสร้างเตาเผาถ่านโดยใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร นั้นต้องเลือกสถานที่ในการสร้างเตา โดยควรเป็นที่ดอน ควรอยู่ห่างจากบ้านเรือนอย่างน้อย 50 เมตร อยู่ใกล้แหล่งไม้ฟืน หรือวัตถุดิบโดยจะใช้วัสดุ/ส่วนประกอบคือ

1.ถังน้ำมัน 200ลิตร1ถัง
2.ท่อใยหินเส้นผ่านศูนย์กลาง4นิ้วยาว1-1.5เมตร1ท่อ
3.ข้องอใยหินเส้นผ่านศูนย์กลาง4นิ้ว
4.อิฐบล็อค4ก้อน
5.ดินเหนียว
6.ขี้เถ้าแกลบ(แกลบดำ)
7.ดินหรือทราย(ทำฉนวนหุ้มเตา)
8. ไม้ไผ่ เส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 3 นิ้ว เจาะทะลุปล้อง ความยาวอย่างน้อย 5 เมตร
9. ภาชนะใส่น้ำส้มควันไม้ ควรเป็นถังพลาสติกทรงสูง เพราะน้ำส้มควันไม้เป็นกรด ถ้าหากใช้ภาชนะรองเป็นโลหะกรดจะกัดโลหะทำให้น้ำส้มควันไม้คุณภาพไม่ดี
10.สายยาง

สำหรับ การทำงานของเตาเผาถ่านถัง 200 ลิตรนี้ จะไม่เหมือนการเผาถ่านแบบทั่วไป เพราะจะเป็นการจุดไฟจากด้านนอกเพื่อให้ความร้อนนั้นเข้าไปไล่ความชื้นใน เนื้อไม้จนกลายเป็นถ่าน จึงทำให้ได้ผลผลิตที่มากกว่าปกติ เนื่องจากปกตินั้นไม้ที่จะนำไปใช้เผานั้นต้องมีขนาดใหญ่ เมื่อเผาออกมาก็จะได้ถ่านแค่ส่วนหนึ่ง ส่วนอื่นก็จะเสียไป แต่เตาชนิดนี้สามารถใช้ไม้ทั้งชิ้น และยังสามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นถ่านได้ เช่น เปลือกทุเรียน ฝักบัว กาบมะพร้าว กาบตาล เป็นต้น จึงทำให้เกิด การผลิตถ่านดูดกลิ่นขึ้นมา โดยจะใช้เปลือกหรือผลของผลไม้ที่มีอยู่ในพื้นที่มาเผาทำถ่าน เพื่อดูดกลิ่น เนื่องจากถ่านผลไม้นั้นจะสามารถดูดกลิ่นได้ดีกว่าถ่านที่ทำมาจากไม้ทั่วไป ถ่านผลไม้นี้ได้รับการยอมรับและสนับสนุนให้เป็นสินค้าOTOP สร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง

จากแนวโน้มที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของสังคม จึงมีแนวทางในการอนุรักษ์ดังนี้
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพลังงาน สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการทำถ่านผลไม้ให้มีประสิทธิภาพ อย่างเช่นที่กระทรวงพลังงานแนะนำให้ชาวบ้านใช้เตาเผา 200 ลิตร ทำให้ได้ถ่านที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือการที่มีการส่งเสริมให้ชุมชนต่างๆเข้าร่วมโครงการจัดทำแผนพลังงานชุมชน ซึ่งถ้าหาก กระทรวงพลังงานสามารถทำโครงการนี้สำเร็จ ก็นับว่าเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำถ่านผลไม้ได้อย่างดีเยี่ยม
2. สำหรับ อบต. ก็ควรจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ช่วงทางในการจัดจำหน่าย หรือ แม้แต่ การจัดหางบประมาณ และการต่อยอดความรู้ให้ชาวบ้าน โดยอาจจะจัดให้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเกษตรผลไม้ หรือ การทำถ่านผลไม้ มาให้ความรู้แก่ชาวบ้าน เพื่อที่จะได้ถ่านที่ดีมีคุณภาพ
3. การปลูกฝังให้เยาวชนใส่ใจในสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พลังงาน ช่วยกันลดปัญหาโลกร้อน โดยอาจจะมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ ในเรื่องของการทำถ่านผลไม้ หรือ จัดกิจกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียน อย่างเช่น เยาวชน ยุวเกษตร โรงเรียนบ้านหนองไผ่ อ.หนอง บัว จ.นครสวรรค์ ซึ่งถ้าหากมีการส่งเสริมกันมากขึ้น เยาวชน ชุมชนอื่นๆก็จะได้ สืบสานภูมิปัญญานี้ต่อไป
4. พัฒนาผลิตภัณฑ์ จากที่ชาวบ้านทำไว้ใช้ในครัวเรือน ก็ส่งเสริมให้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สามารถเพิ่มมูลค่ามากยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นหีบห่อสวยงาม ทำเป็นสินค้าที่ระลึก มีรูปแบบต่างๆมากมาย และกระจายตลาดให้มากขึ้น
5. ทำเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศ โดยเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้านก่อน แล้วค่อยกระจายออกไป

ภูมิปัญญาไทย ถ่านผลไม้ กับ การถ่ายทอดภายในโรงเรียน

ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ควรให้การส่งเสริม ที่ภูมิปัญญาไทย ถ่านผลไม้ ได้ กระจาย เผยแพร่ไปยังกลุ่มเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติต่อไป โดยมีโรงเรียนเป็นจุดศูนย์กลางการเผยแพร่ ทำให้ เยาวชน เห็นคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น
- โรงเรียนบ้านสีระมันได้คิดวิธีการทำเตาเผาถ่าน(ผลไม้) ขึ้นมาเพื่อเผาผลไม้ที่ไม่สามารถจำหน่ายได้เป็นถ่าน เพื่อใช้ในการดูดซับกลิ่นได้เหมือนถ่าน
- ยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านหนองไผ่ ถ่าน"พลังเด็ก"เกษตรรุ่นเยาว์
เรียนรู้จากการทำจริง การทำถ่านผลไม้ จนได้รางวัลดีเด่นระดับเขตกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านหนองไผ่ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นกลุ่ม ยุวเกษตรกรดีเด่น ระดับเขต ปี 2551 ของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ โดยเน้นการฝึกทักษะอาชีพด้านการเกษตรและเคหกิจการเกษตร มีเตาเผาถ่านอนุรักษ์พลังงานหลายแบบในโรงเรียน เพื่อใช้ในการเผาถ่านผลไม้ซึ่งเป็นกิจกกรมหนึ่ง ที่เด็กๆยุวเกษตรร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ลองผิดลองถูกด้วยผลผลิตในหมู่บ้านของเด็กเอง
- ยุวเกษตรกรประจำตำบลหนองกะท้าว ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเริ่มก่อตั้งและดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 เกิดแนวความคิดที่จะนำพืชผลทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่าให้เป็นสินค้าสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกภายในกลุ่มด้วยการทำ “ถ่านผลไม้ดูดกลิ่น”

นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกหลายๆโรงเรียนทั่วประเทศที่มีการส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ถ่านผลไม้ ให้กับนักเรียนในโรงเรียน ไม่ว่าจะให้ทำเป็น โครงงานวิทยาศาสตร์ การทำกิจกรรม การจัดนิทรรศกาล สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เห็นว่า การถ่ายทอดภายในโรงเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้เยาวชนหันมาให้ ความสนใจ และเห็นคุณค่าความสำคัญของภูมิปัญญาที่ไทยคิดไทยทำกันมากขึ้น และยังจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกันต่อยอดภูมิปัญญาไทยเหล่านี้ ช่วยกัน เผยแพร่ อนุรักษ์ ได้อีกด้วย

บทสรุป
ด้วยภูมิปัญญาที่มีการสั่งสมกันมาตั้งแต่อดีต รวมเข้ากับองค์ความรู้ที่มีในปัจจุบัน จากเดิมที่มีการนำถ่านไม้มาดูดกลิ่นอับ เมื่อต่อมามีผลไม้มากเกินความต้องการของท้องตลาด ชาวสวนผลไม้เองก็ได้มีแนวคิดที่จะทำให้ สิ่งที่ไม่มีประโยชน์เป็นเหมือนขยะ จึงได้คิดที่จะนำมาเผาทำเป็นถ่าน เมื่อสามารถเผาเป็นถ่านได้ จากภูมิปัญญาที่ถ่านไม้สามารถที่จะดูดกลิ่นได้ ชาวบ้านจึงนำถ่านผลไม้ที่ได้จากการเผา นำมาทำเป็นถ่านดูดกลิ่นอับ และมีการเพิ่มมูลค่าให้มีมากขึ้น โดยการทำเป็นผลิตภัณฑ์ มีหีบห่อที่สวยงาม สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง จนบางชุมชน นำมาทำเป็นรายได้เสริม ซึ่งนอกจากที่จะทำให้เศษขยะอย่างผลไม้มีคุณค่าเพิ่มแล้ว ก็ยังสามารถเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย นอกจากนี้ สิ่งที่ได้จากภูมิปัญญาถ่านผลไม้ ดูดกลิ่นอับ คือ การที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน ที่เป็นกระแสนิยมในตอนนี้ ถ่านผลไม้สามารถช่วยลดการใช้พลังงาน ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ลดการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ช่วยลดการเกิดขยะ การเกิดของเสียอย่างผลไม้ที่ไม่เป็นที่ต้องการของท้องตลาด เป็นต้น
ปัจจุบันนี้ ได้มีหน่วยงานเข้ามาดูแลและให้ความช่วยเหลือ เช่น หระทรวงพลังงาน และ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักเทคโนโลยีชุมชน เข้ามาช่วยพัฒนา ให้ได้ถ่านผลไม้ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจากเดิมนั้น ชาวบ้านก็ทำกันเองภายในชุมชน ลองผิดลองถูก ใช้เตาเผาที่ทำขึ้นเอง มีคุณภาพบ้าง ไม่มีคุณภาพบ้าง ถ่านผลไม้ที่ได้ออกมา ก็ยังไม่เป็นไปตามผลที่ตั้งไว้พอสมควร เมื่อมีหน่วยงานเหล่านี้ เข้ามาส่งเสริม ช่วยเหลือ ก็ทำให้ ได้ ถ่านผลไม้ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ถ่านผลไม้ดูดกลิ่นอับ ในกลุ่มเยาวชนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการถ่ายทอกภายในโรงเรียน มีการส่งเสริมให้มีกิจกรรมเหล่านี้ในโรงเรียนมากขึ้น ทำให้ เยาวชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยกันส่งเสริมภูมิปัญญาการทำถ่านผลไม้อีกทางหนึ่งด้วย
ชุมชน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจัดทำแผนพลังงานชุมชน กับกระทรวงพลังงานในปี 2552 สามารถสมัครได้ที่ สำนักงานพลังงานจังหวัด หรือศูนย์ประสานงานกลางการวางแผนพลังงานชุมชน โทร.0-2223-3344 ต่อ 2262-3



http://www.charcoal.snmcenter.com/

http://www.energyfantasia.com/ef4/pedia/pediamain.php?group=ภาวะโลกร้อน

http://www.clinictech.most.go.th/techlist/0214/metal/00000-534/pic1.jpeg)